|
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานสำคัญของเทศบาลตำบลขุนพัดเพ็ง |
๑. ด้านกายภาพ ๑.๑ ที่ตั้งของหมู่บ้าน/ชุมชน/ตำบล |
หมู่ที่ 1 บ้านดอนเขว้า |
- ชุมชนดอนเขว้าพัฒนา |
หมู่ที่ 2 บ้านบ่อปั้น |
- ชุมชนบ่อปั้นพัฒนา |
หมู่ที่ 3 บ้านสระยายโสม (บางส่วน) |
- ชุมชนขุนพัดเพ็งสามัคคี |
หมู่ที่ 4 บ้านโซ่ง (บางส่วน) |
- ชุมชนขุนพัดเพ็งพัฒนา |
หมู่ที่ 5 บ้านโป่ง |
- ชุมชนบ้านโป่งขุนพัดเพ็งพัฒนา (ทิศตะวันตก) - ชุมชนบ้านโป่งร่วมใจพัฒนา (ทิศตะวันตก) |
หมู่ที่ 6 บ้านคลองตัน |
- ชุมชนร่วมใจพัฒนา (ทิศตะวันออก) - ชุมชนคลองตันสามัคคี (ทิศตะวันตก) |
หมู่ที่ 7 บ้านหนองยายทรัพย์ |
- ชุมชนอยู่ดีมีสุข (ทิศเหนือ) - ชุมชนจันทร์กระจ่างฟ้าพัฒนา (ทิศใต้) |
หมู่ที่ 8 บ้านหนองแกเจริญ |
- ชุมชนเจริญสุข |
หมู่ที่ 9 บ้านรางยาว |
- ชุมชนก้าวสร้างสรรค์พัฒนา |
หมู่ที่ 10 บ้านบ่อคู่ |
- ชุมชนบ่อคู่ร่วมใจพัฒนา |
สำนักงานเทศบาลตำบลขุนพัดเพ็ง ตั้งอยู่เลขที่ 999 หมู่ที่ 5 ตำบลสระยายโสม อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี โทรศัพท์ 035 446510 11 โทรสาร 035 446511
๑.๒ ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่ของเทศบาลตำบลขุนพัดเพ็งเป็นที่ราบ อยู่ทางทิศตะวันตก ประมาณ ร้อยละ 80 และอีกประมาณร้อยละ 20 เป็นที่ราบลุ่มซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก มีแหล่งน้ำสำคัญ คือ คลองส่งน้ำชลประทาน ช่วยในการทำเกษตรกรรม |
๑.๓ ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะอากาศมีลักษณะร้อนชื้น อากาศเปลี่ยนแปลงไปตามฤดู ซึ่งมี ๓ ฤดู ดังนี้ |
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม อากาศร้อนและแห้งแล้ง แต่บางครั้งอาจมีอากาศเย็น บ้างครั้งเกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง อากาศร้อน จะมีอุณหภูมิระหว่าง ๓๕ ๓๙.๙ องศาเซลเซียส ร้อนจัด มีอุณหภูมิประมาณ ๔๐ องศาเซลเซียสขึ้นไป ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ฝนตกมากในช่วงเดือน พฤษภาคม ตุลาคม แต่อาจเกิด ช่วงฝนทิ้ง หรือบางปีอาจเกิดขึ้นรุนแรงและมีฝนน้อยนานนับเดือน ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ หนาวสุดในช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม |
๑.๔ ลักษณะของดิน ลักษณะดินโดยทั่วไปเป็นดินร่วนปนทราย ประมาณ ๗๕ % ดินลูกรังประมาณ ๑๕ % ลักษณะดินในพื้นที่เป็นดินเหนียวประมาณ ๑๐ % ๑.๕ ลักษณะของแหล่งน้ำ มีแหล่งน้ำที่ใช้สำหรับ อุปโภค-บริโภค จำนวน 13 แห่ง แหล่งน้ำทั้ง 13 แห่ง เคยเป็นแหล่งน้ำที่เกิด ขึ้นเองตามธรรมชาติและชุมชน/เทศบาลได้ดำเนินการขุดลอกขึ้นใหม่เพื่อเพียงพอกับการอุปโภคและบริโภคของประชาชน ดังนี้
ลำห้วย |
- แห่ง |
สระน้ำ |
6 แห่ง |
หนองน้ำ |
2 แห่ง |
บ่อน้ำตื้น |
- แห่ง |
ลำคลอง |
5 แห่ง |
บ่อบาดาล |
- แห่ง |
บึง อ่างเก็บน้ำ แม่น้ำ ฝาย อื่นๆ (ระบุ) เหมือง |
- แห่ง - แห่ง - แห่ง - แห่ง |
|
| ๑.6 ลักษณะของไม้และป่าไม้ ในเขตเทศบาลไม่มีป่าไม้ แต่มีต้นไม้ที่ชาวบ้านปลูกลักษณะของไม้เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ |
๒. ด้านการเมือง/การปกครอง ๒.๑ เขตการปกครอง เทศบาลตำบลขุนพัดเพ็ง เป็นหน่วยบริหารราชการท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาล ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบล สระยายโสม อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2550 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2550 ได้เปลี่ยนฐานะและเปลี่ยนชื่อจาก องค์การบริหารส่วนตำบลสระยายโสม เป็น เทศบาลตำบลขุนพัดเพ็ง สืบเนื่องจากตำบลสระยายโสมมีเทศบาล 2 แห่ง และชื่อของเทศบาลต้องไม่ซ้ำซ้อนกัน จึงมีความจำเป็นต้องใช้ชื่อเทศบาลแห่งนี้เป็นเทศบาลตำบลขุนพัดเพ็ง เทศบาลตำบลขุนพัดเพ็ง อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภออู่ทองไปทางทิศใต้ตามทางหลวงรถยนต์หมายเลข 321 ประมาณ 15 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 32.50 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 20,325 ไร่ เทศบาลตำบล ขุนพัดเพ็ง มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้
|
ทิศเหนือ |
ติดต่อกับ |
องค์การบริหารส่วนตำบลจรเข้สามพัน และองค์การบริหารส่วนตำบลยุ้งทะลาย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี |
ทิศใต้ |
ติดต่อกับ |
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบ่อ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี และองค์การบริหารส่วนตำบลสระพังลาน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี |
ทิศตะวันออก |
ติดต่อกับ |
เทศบาลตำบลบ้านดอน และองค์การบริหารส่วนตำบลสระพังลาน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี |
ทิศตะวันตก |
ติดต่อกับ |
องค์การบริหารส่วนตำบลจรเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี | |
๒.๒ การเลือกตั้ง เทศบาลแบ่งเขตการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีทั้งเขตเทศบาลเป็น ๑ เขตเลือกตั้ง และสมาชิกสภาเทศบาล ออกเป็น ๒ เขต ดังนี้ เขตเลือกตั้งที่ ๑ จำนวน 7 ชุมชน ประกอบด้วย ชุมชนดอนเขว้าพัฒนา หมู่ที่ 1 ชุมชนขุนพัดเพ็งสามัคคี หมูที่ 3 ชุมชนขุนพัดเพ็งพัฒนา หมู่ที่ 4 ชุมชนบ้านโป่งร่วมใจพัฒนา หมู่ที่ 5 ชุมชนบ้านโป่งขุนพัดเพ็งพัฒนา หมู่ที่ 5 ชุมชนคลองตันสามัคคี หมู่ที่ 6 และชุมชนร่วมใจพัฒนา หมู่ที่ 6 เขตเลือกตั้งที่ ๒ จำนวน 6 ชุมชน ประกอบไปด้วย ชุมชนบ่อปั้นพัฒนา หมู่ที่ 2 ชุมชนอยู่ดีมีสุข หมู่ที่ 7 ชุมชนจันทร์กระจ่างฟ้าพัฒนา หมู่ที่ 7 ชุมชนเจริญสุข หมู่ที่ 8 ชุมชนก้าวสร้างสรรค์พัฒนา หมู่ที่ 9 และชุมชนบ่อคู่ร่วมใจพัฒนา หมู่ที่ 10 ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลขุนพัดเพ็งส่วนใหญ่เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองเสมอมาและประชาชน ในเขตเทศบาลยังมีส่วนร่วมในการบริหารงาน การช่วยเหลืองานเทศบาล เสนอแนะในกิจกรรมของเทศบาลในการดำเนินงาน ต่างๆ เช่น การประชุมประชาคมเพื่อการจัดแผนพัฒนาท้องถิ่น ประชุมประชาคมแก้ไขปัญหาความยากจนฯลฯ
จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (ข้อมูลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕) - จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล 4,060 คน จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง - จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล 3,324 คน คิดเป็นร้อยละ 81.87%ปัจจุบันนายกเทศมนตรีและสมาชิกสภาเทศบาล รักษาการตามคำสั่ง คสช. และปัจจุบันยังไม่มีการเลือกตั้ง
๓. ประชากร ๓.๑ ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร จากหลักฐานทางทะเบียนราษฎร ณ เดือน ตุลาคม 2559 ของสำนักงานทะเบียนท้องถิ่นเทศบาล ตำบลขุนพัดเพ็ง ปรากฏข้อมูลจำนวนประชากร/ครัวเรือน ในเขตเทศบาลตำบลขุนพัดเพ็ง ดังนี้ (1) จำนวนประชากรรวม 5,398 คน (2) จำนวนหลังคาเรือนรวม 1,703 หลังคาเรือน แยกเป็น เพศชาย 2,686 คน แยกเป็น เพศหญิง 2,712 คน |
ตารางแสดงข้อมูลจำนวนประชากรของเทศบาลตำบลขุนพัดเพ็ง |
หมู่ที่ |
หมู่บ้าน |
พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนครัวเรือน |
จำนวนประชากร |
ความหนาแน่นของประชากร/ตร.กม. |
ชาย |
หญิง |
รวม |
1 |
บ้านดอนเขว้า |
4.14 |
104 |
216 |
198 |
414 |
100.00 |
2 |
บ้านบ่อปั้น |
2.61 |
117 |
170 |
175 |
345 |
132.18 |
3 |
บ้านสระยายโสม (นอกเขตเทศบาล) |
3.08 |
71 |
103 |
85 |
188 |
61.04 |
4 |
บ้านโซ่ง (นอกเขตเทศบาล) |
2.21 |
54 |
54 |
52 |
106 |
47.96 |
5 |
บ้านโป่ง |
2.11 |
226 |
515 |
479 |
994 |
471.09 |
6 |
บ้านคลองตัน |
4.57 |
285 |
520 |
566 |
1,086 |
237.64 |
7 |
บ้านหนองยายทรัพย์ |
2.48 |
245 |
493 |
493 |
986 |
397.58 |
8 |
บ้านหนองแกเจริญ |
4.19 |
117 |
209 |
193 |
402 |
95.94 |
9 |
บ้านรางยาว |
4.06 |
89 |
166 |
178 |
344 |
84.73 |
10 |
บ้านบ่อคู่ |
3.07 |
156 |
277 |
300 |
577 |
187.95 |
รวม |
32.52 |
1,465 |
2,723 |
2,719 |
5,442 |
181.61 | |
(3) ความหนาแน่นของประชากรโดยเฉลี่ย 165.99 คน/ตารางกิโลเมตร (4) ความหนาแน่นของครัวเรือน 52.37 ครัวเรือน/ตารางกิโลเมตร
๓.๒ ช่วงอายุและจำนวนประชากร
เทศบาลตำบลขุนพัดเพ็ง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี |
|
หญิง |
ชาย |
หมายเหตุ |
จำนวนประชากรเยาวชน |
568 คน |
624 คน |
อายุต่ำกว่า 18 ปี |
จำนวนประชากร |
1,754 คน |
1,724 คน |
อายุ 18-60 ปี |
จำนวนประชากรผู้สูงอายุ |
385 คน |
343 คน |
อายุมากกว่า 60 ปี |
รวม |
2,707 คน |
2,691 คน |
ทั้งสิ้น 5,398 คน | |
๔. สภาพทางสังคม ๔.๑ การศึกษา ในพื้นที่เทศบาลตำบลขุนพัดเพ็ง มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1 แห่ง คือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขุนพัดเพ็ง ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังอาคารสำนักงานเทศบาลสถานศึกษาระดับประถมศึกษาสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4 แห่ง ประกอบด้วย (1) โรงเรียนวัดใหม่ปทุมสูตร ตั้งอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 2 บ้านบ่อปั้น (2) โรงเรียนวัดคลองตัน ตั้งอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 6 บ้านคลองตัน (3) โรงเรียนวัดหนองยายทรัพย์ ตั้งอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 7 บ้านหนองยายทรัพย์ (4) โรงเรียนวัดบ่อคู่ ตั้งอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 10 บ้านบ่อคู่ สถานศึกษาระดับมหาวิทยาลัย คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาฯ ตั้งอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 1 บ้านดอนเขว้า ๔.๒ สาธารณสุข สถานพยาบาลในเขตเทศบาลตำบลขุนพัดเพ็ง สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบ่อปั้น และมีอัตราการใช้ส้วมราดน้ำ 100 % ๔.๓ อาชญากรรม เทศบาลไม่มีเหตุอาชญากรรมเกิดขึ้น แต่มีเหตุการณ์ลักขโมยทรัพย์สินประชาชน และทำลายทรัพย์สินของราชการบ้าง ซึ่งเทศบาลก็ได้ดำเนินการป้องกันการเกิดเหตุดังกล่าวตามอำนาจหน้าที่และงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด เช่น การติดตั้งกล้องวงจรปิดรอบอาคารสำนักงาน ติดตั้งสัญญาณไฟกระพริบทางร่วมทางแยก รวมทั้งได้ตั้งจุดตรวจ จุดสกัด จุดบริการ ในช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดหลายวันเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน แต่ปัญหาที่พบเป็นประจำ คือการทะเลาะวิวาทของกลุ่มวัยรุ่นโดยเฉพาะในสถานที่จัดงานดนตรี งานมหรสพ เป็นปัญหาที่ชุมชนได้รับผลกระทบ เป็นอย่างมาก การแก้ไขปัญหา คือการแจ้งเตือนให้ผู้ปกครองดูแลบุตรหลานของตน ประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงผลกระทบ ผลเสียหาย และโทษที่ได้รับจากการเกิดเหตุทะเลาะวิวาท การขอความร่วมมือไปยังผู้นำ การขอกำลังจากตำรวจ ผู้นำ อปพร. เพื่อระงับเหตุไม่ให้เกิดความรุ่นแรง แต่จะไม่ให้เกิดขึ้นเลยยังเป็นปัญหาที่ปัจจุบันไม่สามารถที่จะแก้ไขได้ ทั้งที่มีการร่วมมือกันหลายฝ่าย เป็นเรื่องที่ทางเทศบาลจะต้องหาวิธีที่จะแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนต่อไปตามอำนาจหน้าที่ ที่สามารถดำเนินการได้ ๔.๔ ยาเสพติด ปัญหายาเสพติดในชุมชนของเทศบาล จากการที่ทางสถานีตำรวจภูธรสระยายโสมได้แจ้งให้กับเทศบาลทราบนั้นพบว่าในเขตเทศบาลมีผู้ที่ติดยาเสพติดแต่เมื่อเทียบกับพื้นที่อื่นถือว่าน้อย และยังไม่พบผู้ค้า เหตุผลก็เนื่องมาจากว่าได้รับความร่วมมือกับทางผู้นำ ประชาชน หน่วยงานของเทศบาลที่ช่วยสอดส่องดูแลอยู่เป็นประจำ การแก้ไขปัญหาของเทศบาลสามารถทำได้เฉพาะตามอำนาจหน้าที่เท่านั้น เช่น การณรงค์ การประชาสัมพันธ์ การแจ้งเบาะแส การฝึกอบรมให้ความรู้ ถ้านอกเหนือจากอำนาจหน้าที่ ก็เป็นเรื่องของอำเภอหรือตำรวจแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เทศบาลก็ได้ให้ความร่วมมือมาโดยตลอด ๔.๕ การสังคมสังเคราะห์ เทศบาลได้ดำเนินการด้านสงคมสังเคราะห์ ดังนี้ 1. ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์ ๒. รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ๓. ประสานการทำบัตรผู้พิการ ๔. ตั้งโครงการช่วยเหลือผู้ยากจน ยากไร้ รายได้น้อย และผู้ด้อยโอกาสไร้ที่พึ่ง ๕. ตั้งโครงการสร้าง/ปรับปรุง/ซ่อมแซม/บ้านผู้ยากไร้
๕. ระบบบริการพื้นฐาน ในเขตเทศบาลมีระบบบริการพื้นฐาน ดังนี้ ๕.1 การคมนาคมขนส่ง (1) ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 321 (ถนนมาลัยแมน) ระยะทาง 3.400 ก.ม. (2) ถนนทางหลวงชนบทสายสระยายโสม บ่อปั้น ระยะทาง 12.500 ก.ม. (3) ถนนลาดยางสายคลองตัน-เขาชานหมาก ระยะทาง 3.699 ก.ม. (4) ถนนลาดยางสายทางเข้ามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาฯ ระยะทาง 1.000 ก.ม. (5) ถนนทางหลวงชนบทสายบ้านโซ่ง บ้านโป่ง ระยะทาง 4.750 ก.ม. (6) ถนนทางหลวงชนบทสายบ้านสระยายโสม-เขาชานหมาก ระยะทาง 4.500 ก.ม. (7) ถนนทางหลวงชนบทสายรางยาว - หนองแกเจริญ ระยะทาง 1.000 ก.ม. (8) ถนนลาดยางอบจ.สุพรรณบุรี สายบ่อคู่ - เขาชานหมาก ระยะทาง 0.500 ก.ม. (9) ถนนลาดยางสายบ้านบ่อปั้น ระยะทาง 1.950 ก.ม. (10) ถนนลาดยางสายบ้างโป่ง หนองยายทรัพย์ ระยะทาง 1.400 ก.ม. การคมนาคมในเขตเทศบาล มีจำนวน 132 สาย ระยะทางรวมประมาณ 101.561 ก.ม. (11) ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน 41 สาย ระยะทาง 14.246 ก.ม. (12) ถนนผิวจราจรหินคลุก จำนวน 91 สาย ระยะทาง 87.315 ก.ม. สำหรับการบริการด้านคมนาคม มีรถประจำทางและรถตู้สายกรุงเทพ-สุพรรณบุรี และสายกรุงเทพ-ด่านช้าง บริการทุกวัน
๕.๒ การไฟฟ้า การให้บริการด้านกระแสไฟฟ้าในเขตเทศบาลตำบลขุนพัดเพ็ง อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภออู่ทองจำนวนหมู่บ้านที่ไฟฟ้าเข้าถึง ครบทั้ง 10 หมู่บ้าน/13 ชุมชน และประชาชนมีไฟฟ้าใช้ คิดเป็นร้อยละ 100 ๕.๓ การประปา การบริการด้านน้ำประปาในเขตเทศบาลตำบลขุนพัดเพ็ง ได้มีระบบประปาหมู่บ้านอยู่ในความรับผิดชอบ 4 แห่ง ได้แก่ หมู่ที่ 2, 8, 9 และหมู่ที่ 10 ส่วนหมู่บ้านอื่นได้ใช้บริการน้ำประปาจากการประปาภูมิภาคอู่ทอง-สระยายโสม ๕.๔ โทรศัพท - ๕.๕ ไปรษณีย์/การสื่อสาร/การขนส่งวัสดุ ครุภัณฑ์ ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลขุนพัดเพ็ง มีหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่ให้บริการเกี่ยวกับการสื่อสารและโทรคมนาคม ดังนี้ (1) บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ไปรษณีย์สระยายโสม) (2) สื่อมวลชนในพื้นที่ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ยอดแหลมนิวส์ หนังสือพิมพ์ข่าวมวลชน และหนังสือพิมพ์ข่าวภูมิภาค (3) เสียงตามสายและหอกระจายข่าวครอบคลุมทุกหมู่บ้าน
๖. ระบบเศรษฐกิจ ๖.๑ การเกษตร โครงสร้างทางเศรษฐกิจภายในเขตเทศบาลตำบลขุนพัดเพ็ง ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยในพื้นที่ดอนเกษตรกรใช้ปลูกพืชไร่ เช่น อ้อยน้ำตาล ทำสวน ส่วนพื้นที่ลุ่มเกษตรกรใช้ปลูกข้าวปลูกผัก เป็นต้น ๖.๒ การประมง - ๖.๓ การปศุสัตว์ ประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่นิยมเลี้ยงไก่ เป็ด เพื่อการบริโภคภายในครัวเรือน เท่านั้น ส่วนการเลี้ยงโคและสุกรที่ลงทุนขนาดใหญ่รูปแบบฟาร์ม ไม่ได้รับการดำเนินการมากนักอันสืบเนื่องมาจากพื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ในการเพาะ ปลูกพืช ไม่มีที่ว่างหรือที่สาธารณะเพียงพอในการเลี้ยงแบบปล่อยเล็มหญ้ ๖.๔ การบริการ โรงแรม - แห่ง ร้านอาหาร 7 แห่ง โรงภาพยนตร์ - แห่ง สถานีขนส่ง - แห่ง ร้านเสริมสวย 2 แห่ง ๖.๕ การท่องเที่ยว ในเขตเทศบาลไม่มีแหล่งท่องเที่ยว แต่ได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นในชุมชน เช่น การจัดงานประเพณีต่าง ๆ การจัดสร้างสวนสาธารณะสำหรับใช้พักผ่อนหย่อนใจ เป็นต้น ๖.๖ อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ได้แก่ 1. โรงงานหลอม/หล่อโลหะ จำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 1 2. โรงงานรับจ้างทำลายไม้ จำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 2 3. โรงงานประกอบประตู-หน้าต่างอลูมิเนียม จำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 2 4. กลุ่มแปรรูปผลผลิตการเกษตร จำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 3 5. โรงงานผลิตเม็ดพลาสติก จำนวน 3 แห่ง ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 3,4 6. โรงงานประกอบรถตอกเสาเข็ม จำนวน 2 แห่ง ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 4 7. กลุ่มเย็บผ้าห่มเศรษฐกิจ จำนวน 2 แห่ง ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 6 8. โรงไฟฟ้าชีวภาพ จำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 6 9. โรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ จำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 6 10. โรงงานผลิตอาหารสัตว์ จำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 9 ๖.๗ การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพการพาณิชย์
ธนาคาร - แห่ง สถานีบริการน้ำมัน/ปั้มแก็ส 3 แห่ง บริษัท - แห่ง ศูนย์การค้า/ห้างสรรพสินค้า - แห่ง ห้างหุ้นส่วนจำกัด - แห่ง ตลาดนัด 3 แห่ง ร้านวัสดุก่อสร้าง 1 แห่ง โรงฆ่าสัตว์ - แห่ง อู่ซ่อมรถยนต์ 7 แห่ง
กลุ่มอาชีพ มีกลุ่มอาชีพ จำนวน ๒ กลุ่ม ๑. กลุ่มแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรแม่บ้านโสมจันทร์ หมู่ที่ 3 ๒. กลุ่มเย็บผ้าห่มเศรษฐกิจ หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 6 ๖.๘ แรงงาน สำหรับนอกเหนือจากการประกอบอาชีพหลักของประชาชนในการทำเกษตรกรรมเพาะปลูกพืชไร่ สำหรับอาชีพรอง คือ การรับจ้างแรงงานทั่วไป ในภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม บริการ งานช่าง หน่วยงานภาครัฐ ทั้งภายในและภายนอกพื้นที่ ซึ่งพบมากในกลุ่มประชากรพื้นที่ หมู่ที่ 5 หมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 7
|
|